Thai Blender Wiki
Register
Advertisement

ภาพอ้างอิง[]

Balloon pointer6
Balloon pointer5
Balloon pointer4
Balloon pointer3
Balloon pointer2
Balloon pointer1
ภาพ 3D View ทั่วไป


Blank15x16.gif3D View เป็น Space ชนิดหนึ่ง มีไว้ใช้ปรับแก้ไขข้อมูลสามมิติ

  1. โหมดการทำงาน
  2. การปรับการแสดงผล
  3. การอ้างอิง Pivot
  4. Transform Manipulator
  5. Transform Orientation
  6. Layer


คุณลักษณะของ Blank15x16.gif3D View[]

การปรับมุมมอง[]

ด้วย Mouse[]

การปรับมุมมองใน Blank15x16.gif3D View ใช้การผสม Blank15x16.gifM กับการกดปุ่ม  Shift  และ  Ctrl 

  • Blank15x16.gifM ใช้ในการหมุนมุมมองไปมา
  •  Ctrl +Blank15x16.gifM ลากเมาส์ขึ้นลง ใช้ซูมมุมมองเข้าออก
  •  Shift +Blank15x16.gifM แพนมุมมองไปมาโดยไม่หมุน

ด้วย Keyboard[]

  • Blank15x16.gif0 ภาพจากกล้องตัวที่กำลัง active
  • Blank15x16.gif1 ภาพด้านหน้า ตามแนวแกน Y-+ ร่วมกับ  Shift  เพื่อแสดงด้านตรงข้าม
  • Blank15x16.gif3 ภาพด้านข้าง ตามแนวแกน X+- ร่วมกับ  Shift  เพื่อแสดงด้านตรงข้าม
  • Blank15x16.gif7 ภาพด้านบน ตามแนวแกน Z+- ร่วมกับ  Shift  เพื่อแสดงด้านตรงข้าม
  • Blank15x16.gif5 สลับระหว่างมุมมองแบบ perspective กับ orthographic
  • Blank15x16.gif4|Blank15x16.gif6 วนรอบซ้าย|ขวา
  • Blank15x16.gif8|Blank15x16.gif2 วนรอบขึ้น|ลง
  •  Ctrl +Blank15x16.gif4|Blank15x16.gif6|Blank15x16.gif8|Blank15x16.gif2 แพนซ้าย|ขวา|ขึ้น|ลง
  • Blank15x16.gif+|Blank15x16.gif- ซูมเข้า|ออก
  • Blank15x16.gifEnter ล้างค่าซูม

การเลือกสิ่งต่าง ๆ ใน Blank15x16.gif3D View[]

ผู้ใช้สามารถเลือกสิ่งต่าง ๆ ใน Blank15x16.gif3D View ได้หลายวิธี โดยทั่วไปจะใช้ Blank15x16.gifR แต่ผู้ใช้อาจตั้งค่าการเลือกใน Blank15x16.gifUser Preferences ให้มาใช้ Blank15x16.gifL ในการเลือกแทนก็ได้ โดยทั่วไปการเลือกจะมีวิธีการดังต่อไปนี้

การเลือก/ไม่เลือกทั้งหมดโดยกด  A []

ถ้ามีสิ่งที่ถูกเลือกอยู่ก่อนแล้ว การกด  A  จะเป็นการยกเลิกการเลือก แต่ถ้าไม่ได้เลือกอะไรอยู่เลย การกด  A  จะเป็นการเลือกทุกอย่างที่สามารถเลือกได้ในขณะนั้น

การสลับเป็นเลือกสิ่งที่ไม่ได้เลือกแทนสิ่งที่ถูกเลือกอยู่[]

หากต้องการสลับการเลือกจากสิ่งที่เลือกอยู่เป็นสิ่งที่ไม่ได้เลือก สามารถใช้คีย์ลัด  Ctrl + I 

การเลือกโดยใช้ Blank15x16.gifR[]

กด Blank15x16.gifR บนสิ่งที่ต้องการจะเลือกใน Blank15x16.gif3D View และกด  Shift  เพื่อเลือกเพิ่มเติมจากสิ่งที่เลือกอยู่แล้ว หากกด  Shift +Blank15x16.gifR บนสิ่งที่เลือกอยู่แล้วมักจะเป็นการเลิกเลือกสิ่งนั้น ซึ่งแตกต่างกันออกไปตาม Blank15x16.gif3D View ที่ทำงานอยู่ เช่นใน Blank15x16.gifObject Mode หาก  Shift }+Blank15x16.gifR บน Blank15x16.gifObject ที่เลือกอยู่แล้วแต่ไม่ใช่ตัวที่ active (สีชมพูสว่าง) ก็จะเป็นการทำให้ Blank15x16.gifObject นั้น active ก่อน เมื่อ  Shift +Blank15x16.gifR ซ้ำไปอีกครั้งจึงจะเป็นการยกเลิกการเลือก

การเลือก/ไม่เลือกเพิ่มเติมแบบ Border Select โดยการกด  B []

ให้กด  B  ใน Blank15x16.gif3D View จะเห็น mouse cursor เปลี่ยนเป็น cross hair (รูปเครื่องหมายบวก) ให้ลาก Blank15x16.gifL เพื่อกำหนดพื้นที่สี่เหลี่ยมครอบคลุมสิ่งที่ต้องการจะเลือก ถ้าต้องการยกเลิกการถูกเลือกให้ใช้การลาก Blank15x16.gifR หรือ Blank15x16.gifM แทน Blank15x16.gifL

ใน Blank15x16.gifEdit Mode หากผู้ใช้กด  B  สองครั้ง mouse cursor จะเปลี่ยนเป็นวงกลมซึ่งสามารถขยาย/ลดขนาดได้โดยการ Blank15x16.gifScroll วงกลมนี้หากผู้ใช้ลาก Blank15x16.gifL ผ่านสิ่งใดที่เลือกได้จะเป็นการเลือกสิ่งนั้น หากลาก Blank15x16.gifL จะเป็นการยกเลิกการเลือกสิ่งที่ลากผ่าน และกดเมื่อ Blank15x16.gifR จะเป็นการออกจากโหมดการเลือกด้วยวงกลม

การเลือกโดยใช้ Lasso[]

เป็นการเลือกโดยวาดเส้นล้อมกรอบสิ่งที่ต้องการจะเลือก วิธีนี้ทำได้โดยการลาก  Ctrl +Blank15x16.gifL เพื่อวาดวงล้อมรอบสิ่งที่ต้องการจะเลือก หากต้องการจะไม่เลือกให้กด  Shift + Ctrl +Blank15x16.gifL แทนการลากในลักษณะเดียวกัน

โหมดการทำงาน[]

โหมดการทำงานของ Blank15x16.gif3D View มีอยู่หลายโหมด และมีหน้าที่คร่าว ๆ ดังนี้

  • Blank15x16.gifObject Mode : ใช้ย้ายที่หมุนปรับขนาด Blank15x16.gifObject
  • Blank15x16.gifEdit Mode : ใช้แก้ไขรายละเอียด Blank15x16.gifObject บางชนิด เช่นการแก้ไข Blank15x16.gifMesh
  • Blank15x16.gifSculpt Mode : ใช้ปั้น Blank15x16.gifMesh
  • Blank15x16.gifVertext Paint : ลงสี vertex
  • Blank15x16.gifTexture Paint : ลงสี/วาด texture
  • Blank15x16.gifWeight Paint : ลงน้ำหนักให้ skin กระดูก
  • Blank15x16.gifParticle Mode : ใช้จัดการข้อมูล particle
  • Blank15x16.gifPose Mode : ใช้ปรับท่ากระดูก

โดยในส่วน Header ของ Blank15x16.gif3D View มีส่วนที่ใช้ในการเปลี่ยนโหมดการทำงาน (ดูภาพอ้างอิง 1) หรืออาจะเปลี่ยนเข้าออกระหว่างโหมดต่างๆด้วยคีย์ลัด ได้แก่

  •  Tab  ใช้สลับเข้าออก Blank15x16.gifEdit Mode จากโหมดปัจจุบัน
  •  Ctrl + Tab  ใช้สลับเข้าออก Blank15x16.gifWeight Paint จากบางโหมด
  •  V  ใช้สลับเข้าออก Blank15x16.gifVertext Paint จากบางโหมด

Layer ของ Blank15x16.gifObject[]

layer มีไว้ใช้แบ่ง Blank15x16.gifObject ออกเป็นส่วน ๆ หรือไว้ใช้เลือก/ซ่อน Object บางส่วนที่ยังไม่ต้องการการใช้งาน ใน Blender แต่ละ Object จะสามารถอยู่ใน layer ได้ตั้งแต่ 1-20 layer (แต่ละ Object สามารถอยู่ในมากกว่า 1 Layer) ผู้ใช้สามารถเลือกแสดงผล layer ได้จากบริเวณส่วน Header ของหน้าต่าง Blank15x16.gif3D View (6 ในภาพอ้างอิง)

ผู้ใช้สามารถใช้ Layer ช่วยจัดการกับ Blank15x16.gifObject ได้ การย้าย Blank15x16.gifObject ข้าม Layer ทำได้โดย

  1. ใน Blank15x16.gifObject Mode Blank15x16.gifR บน Blank15x16.gifObject เพื่อเลือก Object ที่ต้องการ
  2. กด  M  ใน Blank15x16.gif3D View จะแสดงกล่องสำหรับเลือก Layer ขึ้นมา
  3. Blank15x16.gifL เพื่อเลือก Layer ที่ต้องการ
    • Blank15x16.gifObject หนึ่งๆสามารถอยู่ได้มากกว่า 1 Layer. หากผู้ใช้ต้องการเลือกหลาย Layer ให้กด  Shift Blank15x16.gifL เพื่อเลือก Layer โดยไม่ไปยกเลิก Layer ที่ได้เลือกเอาไว้แล้ว.
    • การแสดงผลทีละหลาย Layer ก็คลิกเลือก Layer ตรงส่วน header ของ Blank15x16.gif3D View ในลักษณะเดียวกัน

คีย์ลัด[]

อาจใช้  F7  หลังจากเลือก Blank15x16.gifObject จะสามารถแก้ไข Layer ของ Object ได้จากพาเนล Draw ซึ่งวิธีนี้จะทำได้แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ใน Blank15x16.gifObject Mode

คีย์ลัด  1  ถึง  0  (ไม่ใช่เลขบน numpad) ใช้เลือกเลเยอร์ 1-10 และเมื่อใช้ร่วมกับ  Alt  จะเป็นการเลือก layer 11-20 และถ้าต้องการเลือกมากกว่า 1 layer ในส่วนนี้ก็สามารถใช้ร่วมกับ  Shift  ได้เช่นกัน

การปรับเปลี่ยนระยะขนาดและมุมของ Blank15x16.gifObject และ Blank15x16.gifMesh[]

การย้ายที่ หมุน และปรับขนาดด้วย Keyboard[]

  •  G  เพื่อย้ายที่
  •  R  เพื่อหมุน
  •  S  เพื่อปรับขนาด

เมื่อกดคีย์ลัดแล้วใช้การลากเมาส์ไปมาเพื่อตั้งค่า ใช้ Blank15x16.gifR ยกเลิกการตั้งค่ากลับไปสู่ค่าเดิมก่อนกดคีย์ลัด หากต้องการยืนยันการปรับค่า ให้ใช้ Blank15x16.gifL หรือการกด  Enter  เพื่อยืนยัน ในระหว่างที่ตั้งค่า ผู้ใช้สามารถอ้างอิงแกนและกำหนดค่าตัวเลขที่ต้องการได้ ทั้งนี้ ในระหว่างที่มีการตั้งค่าตามวิธีข้างต้น ผู้ใช้จะไม่สามารถทำอย่างอื่นนอกจากที่เกี่ยวกับการเลือกแกน, การให้ค่าตัวเลข และการอ้างอิงตาราง grid จนกว่าผู้ใช้จะออกจากโหมดด้วยการตกลงหรือยกเลิกการตั้งค่า

การย้ายที่ หมุน และปรับขนาดด้วย Transform Manipulator[]

Transform Manipulator สำหรับหมุนวัตถุ

Transform Manipulator (วงสีด้านบน) ปุ่มเปิดปิด (รูปมือ) ปุ่มเลือกโหมดย้ายที่ (ไอคอนสามเหลี่ยมแดง) โหมดหมุนซึ่งเป็นโหมดที่ถูกเลือกอยู่ (ไอคอนวงเขียว) และโหมดปรับขนาด (ไอคอนสี่เหลี่ยมน้ำเงิน)

 Ctrl + Space  จะเรียกเมนูเพื่อเปิดปิดเครื่องมือปรับเปลี่ยน ซึ่งมีลักษณะเป็นลูกศร โดยสามารถเลือกโหมดการทำงานได้สามโหมดคือ

  • การย้ายที่ ( Ctrl + Alt + G )
  • การหมุน ( Ctrl + Alt + R )
  • การปรับขนาด ( Ctrl + Alt + S )

โดยผู้ใช้สามารถเลือกโหมดการทำงานได้มากกว่าหนึ่งโหมดพร้อมๆกันด้วยการเลือก Combo จากเมนู หรืออาจเลือกจากปุ่มเลือกโหมดการทำงานบริเวณส่วน header ของหน้าต่าง ด้วยการกด  Shift  ค้างไว้ขณะเลือก

เมื่อผู้ใช้เปิด Transform Manipulator จะสามารถปรับเปลี่ยนสิ่งที่เลือกอยู่ได้โดยการกด Blank15x16.gifL ลงบนเส้นสีต่างๆในส่วนของ Transform Manipulator ใน Blank15x16.gif3D View แล้วลากไปตามทิศทางที่ต้องการ ซึ่งตัว Transform Manipulator นี้จะใช้สีแดงแทนแกน X และสีเขียวกับน้ำเงินซึ่งแทนแกน Y กับ Z ตามลำดับ ขณะที่เส้นสีขาวจะหมายถึงทุกแกนรวมกันในโหมดของการปรับขนาด หมายถึงแกนแนวฉากกับมุมมองปัจจุบันในการหมุน และหมายถึงระนาบที่ฉากกับแกนแนวฉากมุมมองในกรณีของการเคลื่อนที่

การย้ายที่ หมุน และปรับขนาดด้วย Transform Properties[]

เมื่อกด  N  จะมีพาเนล Transform Properties ปรากฏขึ้นใน Blank15x16.gif3D View ซึ่งผู้ใช้สามารถปรับตำแหน่ง มุมหมุนและขนาดได้ด้วยการกำหนดค่าคงตัว โดยค่า LocX,Y,Z จะใช้ปรับตำแหน่ง RotX,Y,Z ใช้ปรับมุมการหมุน ScaleX,Y,Z ใช้ปรับอัตราส่วนขนาดเมื่อเทียบกับขนาดจริง และ DimX,Y,Z เพื่อใช้กำหนดขนาดที่ต้องการโดยไม่ต้องคำนวณเอาเองจากอัตราส่วน

การย้ายที่ หมุน และปรับขนาดด้วย Gesture[]

เป็นการปรับขนาด หมุน ย้ายที่ Blank15x16.gifObject โดยไม่ต้องใช้คีย์ลัดและ Transform Manipulator (Blank15x16.gif3D View Ctrl  Space ) แต่ใช้เพียงการบังคับ Mouse เท่านั้น ซึ่งทำได้โดยการลาก Blank15x16.gifL ใน Blank15x16.gif3D View เป็นรูป L เพื่อหมุน, ลากสลับซ้ายขวาหรือขึ้นลง เพื่อปรับขนาด และลากเป็นเส้นตรงเพื่อเลื่อนตำแหน่ง นอกจากนี้เมื่อ Blank15x16.gifObject เข้าสู่โหมดที่ต้องการ(โหมดหมุน,เลื่อน,ปรับขนาด)แล้ว ก็สามารถกดค้าง Blank15x16.gifM จะปรากฏเส้นไข่ปลา ลากเมาส์เพื้อบังคับเส้นไข่ปลาให้ชี้ไปทางแกนที่ต้องการ (X เส้นสีแดง Y สีเขียว Z สีน้ำเงิน) เพื่อเลือกแกนที่ต้องการ แล้วจึงปล่อยเมาส์ เบลนเดอร์ก็จะล็อกการปรับวัตถุที่เลือกอยู่เข้ากับแกนนั้นๆโดยอัตโนมัติ (หรือจะใช้วิธีกด  X   Y   Z  ตามก็ได้)

การอ้างอิงแกน[]

ผู้ใช้สามารถเลือกปรับเปลี่ยน Blank15x16.gifObject ตามแกนด้วยเครื่องมือข้างต้น หรือกดปุ่ม  X   Y  และ  Z  หลังจากกดคีย์ลัดเพื่อปรับเปลี่ยน Blank15x16.gifObject ไปในแกนที่ต้องการ เช่นถ้าผู้ใช้ต้องการขยายขนาด Blank15x16.gifObject ตามแนวแกน X ก็สามารถกด  S  X  ใน Blank15x16.gif3D View แล้วขยับเมาส์พอยเตอร์เพื่อปรับขนาด

นอกจากนี้ด้วยคีย์ลัด ผู้ใช้ยังสามารถอ้างอิงแกนได้มากกว่า 1 แกน เช่นถ้าผู้ใช้ต้องการย้าย Blank15x16.gifObject ไปในระนาบแกน X และ Y แต่รักษาระดับความสูงตามแกน Z ไว้ ก็สามารถทำได้โดยกด  G  Shift + Z 

การใช้ Gesture ก็สามารถอ้างอิงแกนที่ต้องการได้ โดยในโหมด Gesture ผู้ใช้สามารถกด Blank15x16.gifM ค้างไว้จะปรากฏเส้นตรงไข่ปลาสีขาวลากจากจุดอ้างอิง ให้ควบคุมเมาส์บังคับเส้นให้ชี้ไปทางแกนที่ต้องการ พอเห็น Blank15x16.gifObject ล็อกเข้ากับแกนที่ต้องการแล้วก็ปล่อยเมาส์ วัตถุก็จะอ้างอิงกับแกนนั้นๆ

แกนการปรับเปลี่ยน (Transform Orientation)[]

Global Orientation

Global Orientation

Local Orientation

Local Orientation

Normal Orientation

Normal Orientation (เป็นภาพจำลองเมื่อเลือกแต่ละ face)

View Orientation

View Orientation

Custom Orientation

Custom Orientation ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเลือกอ้างอิงกับ Blank15x16.gifObject ใดๆก็ได้ โดยจากภาพ Cube จะเลือกอ้างอิงแกนจาก Suzanne

แกนการปรับเปลี่ยน (Transform Orientation) มีหลายโหมดการทำงาน เลือกได้ด้วย  Alt + Space  หรือจากเมนู (ดูภาพอ้างอิง 5) โดยโหมดต่าง ๆ แบ่งออกเป็น

  • Global : ใช้แกน X Y Z ของ Blank15x16.gifWorld
  • Local : ใช้แกน X Y Z ของ Blank15x16.gifObject
  • Normal : ใช้แกน X Y Z จากค่าเฉลี่ยของ vertex normal ได้แก่ค่า vertex normal ของ vert เมื่อเลือก vert หรือค่า face normal เมื่อเลือก face ใน Blank15x16.gifMesh
  • View : ใช้แกน X Y Z ของ Blank15x16.gif3D View โดยแกน Z จะขนานกับเส้นแนวฉากจากระนาบ 3D View บนจอภาพ
  • Custom : ผู้ใช้สามารถเพิ่มเติม Orientation โดยอิงกับ Blank15x16.gifObject ใด ๆ ได้ตามความต้องการโดยเรียกจากพาเนล  Blank15x16.gif3D View → View → Transform Orientations  เลือก object ที่ต้องการแล้วสั่ง Add โดยตัวเลือกได้มากกว่า 1 รายการ ทั้งนี้ เมื่อได้เพิ่มเป็นรายการแล้วการหมุนเปลี่ยนแปลงของ object ที่เป็นต้นแบบนั้นจะไม่มีผลกับค่าที่ได้เพิ่มไว้

เมื่อทำการปรับเปลี่ยนแบบจำลองโดยใช้คีย์บอร์ด การกด  X   Y  หรือ  Z  ในครั้งแรกจะยังเป็นการอ้างอิงแกน Global อยู่ ต้องกด  X   Y  หรือ  Z  อีกครั้งเพื่อล็อกเข้ากับ orientation ที่ได้เลือกไว้ เช่น หากต้องการย้าย Blank15x16.gifObject ตามแกน X ใน orientation แบบ Local ใน Blank15x16.gifObject Mode ก็สามารถทำได้โดย Blank15x16.gifR เพื่อเลือก Blank15x16.gifObject จากนั้นกด  G  X  X  แล้วลากเมาส์เพื่อปรับระยะ หากกดเพียง  G  X  จะย้งเป็นการย้ายตามแกน Global ส่วนการยกเว้นแกนก็สามารถทำได้ตามปรกติแต่กดแกนที่ต้องการจะล็อกเพิ่มเข้าไป เช่นหากต้องการปรับขนาดเฉพาะแกน Y และ Z ก็ทำได้โดย  S  X (ซึ่งที่จริงจะเป็นคีย์แกนไหนก็ได้) Shift + X (หมายถึงยกเว้นแกน X)


มีข้อสังเกตว่าเมื่ออยู่ใน Blank15x16.gif3D View การทำงานของ orientation แบบ Normal จะไม่แตกต่างกับแบบ Local ทั้งนี้ การอ้างอิงแกนแบบ Normal จะมีประโยชน์ใน Blank15x16.gifEdit Mode ซึ่งจะมีค่า vertex normal อยู่ด้วย เช่นเมื่อเลือก face แกนของการเคลื่อนที่จะตรงกับค่าเฉลี่ยของ vertex normal ที่ประกอบขึ้นเป็น face นั้น หรือเมื่อเลือก vert เดียว ค่า vertex normal ของ vert นั้น ๆ ก็จะถูกนำมาใช้เป็น orientation โดยทิศทางที่ normal ชี้ไปจะเป็นทิศทางของแกน Z

การอ้างอิงตาราง grid[]

ผู้ใช้สามารถเลือกระหว่างการ transform ด้วย grid หรือ snap ด้วยการกดคีย์  Shift + Tab 

  • การปรับตำแหน่ง object ให้ตรงกับกริดตาราง   Shift + S  → Selection → Grid 
  • การกด  Ctrl  ระหว่างย้ายที่ object จะเป็นการล็อกตำแหน่งการย้ายให้ตรงกับ grid (ปรับเข้ากับระยะซูมโดยอัตโนมัติ)
    • การกด  Ctrl + Shift  ระหว่างย้ายที่ object จะเป็นการล็อกตำแหน่งการย้ายให้ตรงกับ grid ย่อย
  • การกด  Ctrl  ระหว่างหมุน object จะเป็นการล็อกการหมุนให้หมุนจังหวะละ 5°
    • การกด  Ctrl + Shift  ระหว่างหมุน object จะเป็นการล็อกการหมุนให้หมุนจังหวะละ 1°
  • การกด  Ctrl  ระหว่างปรับขนาด object จะเป็นการล็อกการปรับขนาดจังหวะละ 0.1 เท่า
    • การกด  Ctrl + Shift  ระหว่างปรับขนาด object จะเป็นการล็อกการปรับขนาดจังหวะละ 0.01 เท่า

การกำหนดค่าตัวเลข[]

หลังจากกดคีย์ลัดเพื่อเข้าสู่โหมดการปรับเปลี่ยนขนาด ผู้ใช้อาจใช้การคีย์ค่าตัวเลขเพื่อกำหนดค่าอย่างแน่นอน ตัวอย่างเช่น  G  1  Tab  -  3  Tab  0  .  5  Enter  จะหมายถึง สั่งย้ายวัตถุไปตามแนวแกน X Y Z เป็นระยะ 1, -3 และ 0.5 ตามลำดับ

หรือ  R  X  1  5  Enter  คือการหมุนรอบจุดอ้างอิง (pivot) รอบแกน X เป็นมุม 15°

การอ้างอิง Pivot[]

pivot หมายถึงจุดที่ใช้ในการอ้างอิง เช่นเมื่อมีการหมุนหรือการปรับขนาด ผู้ใช้สามารถเลือกชนิดของ pivot ได้หลายชนิด ได้แก่ Active Object ( Alt + . ), Individual Centers ( Ctrl + . ), 3D Cursor ( . ), Median Point ( Shift + , ) และ Bounding Box Center ( , )

Pivot rotating active object (all selected)

การใช้ active object เป็น pivot อ้างอิง

Pivot rotating active object (no select)

active object ไม่จำเป็นต้องถูกเลือก ผู้ใช้สามารถตั้ง active object ได้ด้วยการกด  Alt + Shift +Blank15x16.gifR บน object ที่ต้องการให้เป็น pivot หลังจากเลือก object ที่จะหมุนหรือเปลี่ยนขนาดแล้ว

Active Object[]

 Alt + .  เป็นการใช้ active Blank15x16.gifObject เป็น pivot เมื่อผู้ใช้เลือก object ใด object นั้นจะกลายเป็น active object แต่ทั้งนี้ผู้ใช้ก็สามารถเซ็ต object ให้ active โดยไม่จำเป็นต้องเลือก object ก็ได้ เช่นหากผู้ใช้ต้องการหมุน object A รอบๆ object B โดยไม่หมุน object B ไปด้วย ผู้ใช้ก็สามารถทำได้โดยการเลือก object A ก่อน (Blank15x16.gifR) จากนั้นเซ็ตให้ object B active ด้วย  Alt + Shift +Blank15x16.gifR บน object B แล้วจึงทำการหมุน


Pivot rotating individual centers

individual centers คือการกำหนดให้แต่ละ object ใช้ center ของตัวเองเป็น pivot

Individual Centers[]

 Ctrl + .  เป็นการใช้ object center (จุดสีชมพู) ของแต่ละ object เป็นศูนย์กลางการหมุน เช่นเมื่อมีการเลือกสอง object ขึ้นไปแล้วทำการหมุน object แต่ละ object จะหมุนรอบ object center ของมันเอง ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถหมุนหรือปรับขนาดของ object โดยไม่เปลี่ยนแปลงตำแหน่งเดิมของ object

Pivot rotating cursor

การใช้ 3D Cursor เป็น pivot

3D Cursor[]

Pivot rotating median

pivot แบบ median point จะเป็นการเฉลี่ยน้ำหนักโดยจะไม่ดูที่ขนาดของ แต่จะดูจากจำนวน object จากรูปจะเห็นว่า pivot เอียงไปทางด้านขวา

 .  ใช้ 3D Cursor เป็น pivot ซึ่งจะค่อนข้างทำได้อย่างอิสระเพราะไม่จำเป็นต้องมี object อื่นอ้างอิง การย้ายที่ 3D Cursor ทำได้โดยการกด Blank15x16.gifL ลงในส่วนแสดงผลสามมิติของ Blank15x16.gif3D View หรือ อาจใช้เมนู Snap ( Shift + S ) เพื่อล็อก 3D Cursor เข้ากับ...

  •  Cursor → Selection สิ่งที่กำลังเลือก
  •  Cursor → Active ที่กำลัง active
  •  Cursor → Grid และกริดตาราง

ตามลำดับ ผู้ใช้ยังสามารถเปลี่ยนตำแหน่ง 3D Cursor ได้ด้วยการใช้พาเนล View Properties ( Blank15x16.gif3D View → View → View Properties... ) และ  Shift + C  เพื่อย้าย 3D Cursor ไปยังจุด 0,0,0

นอกจากใช้ 3D Cursor เป็น pivot ผู้ใช้ยังสามารถย้ายที่ object ไปยังตำแหน่งปัจจุบันของ 3D Cursor โดยใช้   Shift + S  → Selection → Cursor 

Median Point[]

 Shift + ,  median point คือจุดศูนย์ถ่วงค่าน้ำหนักของ object ที่ถูกเลือกอยู่ โดยจะถือว่าน้ำหนักของทุก object ที่เลือกอยู่เท่ากันหมดและคิดจาก object center เท่านั้น ซึ่งหมายความว่าขนาดของ object จะไม่มีผลกับ median point

Pivot rotating bounding box center

pivot แบบ bounding box จะไม่ขึ้นกับจำนวน object ที่เลือก แต่จะขึ้นกับตำแหน่ง โดย pivot แบบนี้จะอยู่ตรงกลางพื้นที่ที่ครอบคลุม object ที่เลือกทั้งหมด

  • สามารถ   Shift + S  → Selection → Center  เพื่อย้ายตำแหน่งของสิ่งที่ถูกเลือกมารวมกันตรง median point

Bounding Box Center[]

 ,  เช่นเดียวกับ median point, pivot แบบ bounding box center จะไม่คำนึงถึงขนาดของ object แต่จะมอง object เสมือนเป็น vert โดย bounding box จะเป็นขอบเขตทรงกล่องสี่เหลี่ยมที่ครอบคลุมตำแหน่ง object ของ object ที่ถูกเลือกทั้งหมด โดยทรงสี่เหลี่ยมนี้จะอิงรูปทรงกับแกน global (orientation)



การใช้ snap[]

ผู้ใช้สามารถเลือกระหว่างการ transform ด้วย grid หรือ snap ด้วยการกดคีย์  Shift + Tab 

Blank15x16.gifObject Mode[]

Blank15x16.gifEdit Mode[]

TBImage 3D View Mode Selection

การเลือกโหมดของการทำงานเป็น Edit Mode ใน 3D View

แก้ไขรายละเอียดภายในของ Object ถ้าอยู่ใน Blank15x16.gifObject Mode ให้กด  Tab  และกดอีกครั้งเพื่อกลับสู่โหมดเดิม หรืออาจปรับจากตัวเลือกโหมดก็ได้


Blank15x16.gifSculpt Mode[]

Blender Sculpt

โมเดลชายแก่ แสดง Multires ใน level ต่างๆ และแสดงหัวแปรงแบบ Texture ขณะกำลังเปลี่ยนขนาด

ไฟล์:Old Man Head.blend : โหลดโมเดลตัวอย่างได้ (ลดความละเอียดเนื่องจากข้อจำกัดของทาง Wikia)

จัดรูปทรงแบบคล้ายปั้นดิน


Sculpt Mode ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการกับรายละเอียดของ Mesh ได้ง่ายขึ้น โดยสามารถเข้าถึงความละเอียดได้หลายระดับ (Multi-Resolution) มี brush ให้เลือกใช้หลายแบบ ลักษณะการทำงานคล้ายกับซอฟต์แวร์ ZBrush หรือ Mudbox อย่างไรก็ตามในขณะนี้ระบบ Sculpt ของ Blender ยังทำงานได้ช้าหากจำนวน polygon สูงๆเมื่อเปรียบเทียบกับซอฟต์แวร์เฉพาะทางสองตัวที่กล่าวมา แต่ก็ยังช่วยจัดการงานที่ไม่ต้องการรายละเอียดสูงมากจริงๆได้ดี

ดูเพิ่ม (

FIXME
เปลี่ยนเป็นบทความ

)


Blank15x16.gifVertext Paint[]

ลงสี Vertex

Blank15x16.gifTexture Paint[]

ลงสี Texture

Blank15x16.gifWeight Paint[]

ลงน้ำหนักผิวกระดูก

Blank15x16.gifParticle Mode[]

จัดการกับอนุภาค

Blank15x16.gifPose Mode[]

จัดท่า Blank15x16.gifArmature

ลิงก์ที่เกี่ยวข้องจากภายนอก[]

Advertisement